ร้าน ยอดวัดโพธิ์
www.yodwatpho.99wat.com
089-356-2879/099-624-7874
![]() manoonsak_yod1
|
![]() |
ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ รับเช่า-ให้เช่า-รับจัดหา พระผงกระดูกผีวัดโพธิ์ และเหรียญพรายกระซิบวัดดอน |
|
เบี้ยแก้หลวงพ่อซำวัดตลาดใหม่
|
||||||||||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||||||||||
![]() ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ยอดวัดโพธิ์ | |||||||||||||||
โดย
|
ยอด วัดโพธิ์ | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
เครื่องราง | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เบี้ยแก้หลวงพ่อซำวัดตลาดใหม่ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เบี้ยแก้หลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ วัดตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ‘เบี้ยแก้’ อีกสายตำรับหนึ่ง คือ สายจังหวัดอ่างทอง อันมีกรรมวิธีการทำเบี้ยแก้ที่แปลกต่างไปจากสายวัดกลางบางแก้ว และสายวัดนายโรง กล่าวคือ ใช้ตัวหอยเบี้ยขนาดเล็กกว่า ปรอทที่กรอกลงในตัวหอยเบี้ยไม่จำกัดน้ำหนัก ซึ่งโดยมากมักไม่ถึงบาท การกรอกปรอทนั้นจะใช้ตะกั่วล่อในตัวหอยเบี้ย ส่วนชันโรงที่ใช้ปิดเป็นชันโรงใต้ดินเหมือนกัน ซึ่งวิธีการทำของสายจังหวัดอ่างทอง จะนำเอาตะกั่วแผ่นบางๆ มาตัดเป็นฝอยเล็กๆ แล้วยัดเข้าไปในปากหอยเบี้ย ๒-๓ ชิ้น แล้วจึงเอาปรอทจากขวดกรอกใส่เข้าไปในตัวหอยเบี้ย ปรอทจะเข้าไปกินตะกั่ว จากนั้นจึงเอาชันโรงอุดปากหอยเบี้ยไว้ชั้นหนึ่ง ก่อนจะตัดแผ่นตะกั่วเล็กๆ ลงอักขระ ‘มะ อะ อุ’ แล้ววางทับตรงปากหอยเบี้ยบนชันโรงที่ปิดทับครั้งแรก จากนั้นจึงเอาชันโรงปิดทับอีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะปลุกเสก พระเกจิอาจารย์สายจังหวัดอ่างทองที่สร้างเบี้ยแก้เลื่องชื่อ มีหลายรูปด้วยกัน หนึ่งในนั้นมีนามของหลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ แห่งวัดตลาดใหม่ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง อยู่ด้วย วัดตลาดใหม่ เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปรากฏหลักฐานการก่อตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๑๐ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมมีชื่อว่า ‘วัดโบสถ์บ้านกระเดื่อง’ ต่อมาได้ถูกปล่อยทิ้งร้าง ปรากฏแต่เนินอุโบสถและต้นมะขามใหญ่ ๔ ต้น อยู่ ๔ มุมของอุโบสถ จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือน สร้างตลาดขึ้นใหม่ และร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ จึงเรียกชื่อใหม่ว่า ‘วัดตลาดใหม่’ เจ้าอาวาสวัดรูปแรกภายหลังการบูรณะวัดขึ้นใหม่ คือ หลวงพ่อคุ่ย เป็นพระเถระที่มีพลังอาคมเข้มขลังในด้านการแก้และล้างอาถรรพ์ต่างๆ มีชื่อเสียงโด่งดังร่วมสมัยกับหลวงพ่อเงิน แห่งวัดบางคลาน และหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว เจ้าอาวาสรูปต่อมาของวัดตลาดใหม่ คือ หลวงพ่อซำ อินฺทสุวณฺโณ ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงพ่อคุ่ยที่มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ กล่าวสำหรับหลวงพ่อซำ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ที่บ้านหลักขอน ตำบลห้วยคันแหลม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรชายของนายจีนซึง แซ่ลี้ และนางอินท์ แซ่ลี้ ต่อมาได้ใช้นามสกุลว่า ‘ลีสุวรรณ์’ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ เวลา ๑๕.๑๓ น. โดยมีพระอธิการดี วัดฝาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแป้น วัดสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์จันทร์ วัดท่าสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วด้วยความเคารพที่มีต่อหลวงพ่อคุ่ย ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในวิทยาคมเลิศล้ำในทุกๆ ด้าน จึงมาจำพรรษายังวัดตลาดใหม่ เพื่อรับใช้หลวงพ่อคุ่ย จนมีความผูกพันและกลายเป็นศิษย์รักในเวลาต่อมา จนได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ภายหลังจำพรรษาได้ ๒ ปี หลวงพ่อคุ่ยเห็นว่าหลวงพ่อซำมีความใฝ่รู้ อีกทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร จึงได้ส่งหลวงพ่อซำมาศึกษาหาความรู้ในภาษาบาลี ศึกษาพระธรรมคัมภีร์อยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร และต่อมาได้รู้จักมักคุ้นกับพระมหาอยู่ ญาโณทัย วัดสระเกศ (ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช) สนิทสนมจนเป็นสหธรรมิกกันมาแต่กาลนั้น จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามได้เพียง ๑ พรรษา หลวงพ่อซำได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดสร้อยทอง จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดตลาดใหม่ เนื่องจากมีความห่วงใยบิดามารดาที่มีอายุมากแล้ว และต้องการกลับมาดูแลรับใช้หลวงพ่อคุ่ย ผู้เป็นอาจารย์ หลวงพ่อคุ่ยผู้เป็นอาจารย์ ได้ถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อซำจนหมดสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว วิชาการทำ ‘เบี้ยแก้’ เนื่องเพราะหลวงพ่อซำได้เคยรับรู้ถึงพลังพุทธาคมของเบี้ยแก้ประจักษ์แก่สายตาตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก จึงมีความสนใจเป็นพิเศษ สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อซำ ท่านได้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เรื่อยมา วัตถุมงคลของหลวงพ่อซำได้ชื่อว่าเป็นของดีมีประสบการณ์มากมาย ทั้งเบี้ยแก้ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโทนคู่ใจ และเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ กล่าวสำหรับ ‘เบี้ยแก้’ อันโดดเด่นของหลวงพ่อซำ ท่านจะสร้างแต่เฉพาะในวันอาทิตย์ วันอังคาร และวันเสาร์ แต่หากวันใดตรงกับวันพระหลวงพ่อซำจะหยุดการสร้างเบี้ยแก้ในวันนั้น อีกทั้งในการสร้างหรือทำเบี้ยแก้ของหลวงพ่อซำ ยังกำหนดไว้ด้วยว่า ทำตามกำลังวัน นั้นหมายความว่า วันอาทิตย์มีกำลังเท่ากับ ๖ ก็จะทำขึ้นเพียง ๖ ตัวเท่านั้น วันอังคารมีกำลังเท่ากับ ๘ ทำขึ้นเพียง ๘ ตัว และวันเสาร์มีกำลังเท่ากับ ๑๐ ก็ทำขึ้นเพียง ๑๐ ตัว พระสมุห์ประเมษฐ์ เจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่รูปปัจจุบัน ได้ให้ข้อมูลถึงการทำเบี้ยแก้ของหลวงพ่อซำว่า ในการทำเบี้ยแก้นี้หลวงพ่อซำจะตั้งศาลเพียงตาบูชาบรมครูก่อนที่ท่านจะลงมือในการทำเบี้ยแก้ทุกครั้ง โดยหลวงพ่อซำจะนำตัวเบี้ยตามจำนวนวันที่สร้างมาใส่พานวางไว้พร้อมกับปรอท และชันโรง ตั้งในพิธีบวงสรวงอัญเชิญบรมครูให้มาสถิตประสิทธิ์ประสาทวิชา และเพื่อขออนุญาตในการประกอบพิธีสร้างเบี้ยแก้ให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชันโรงหลวงพ่อซำจะใช้ชันโรงที่มาทำรังอยู่ในต้นคูน เมื่อประกอบพิธีไหว้ครูเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อซำจะหยิบหอยเบี้ยขึ้นมาแล้วเทปรอทลงในอุ้งมือ จากนั้นหลวงพ่อซำจะบริกรรมคาถาเรียกแร่แปรธาตุ สักพักหนึ่งจึงเทปรอทลงในตัวเบี้ย จากนั้นนำชันโรงที่เตรียมไว้มาอุดปิดปากเบี้ยเพื่อป้องกันปรอทไหลออกจากตัวเบี้ย แล้วนำเอาแผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมมาปิดทับชันโรงอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ และง่ายต่อการจดจำ ซึ่งเบี้ยแก้ที่มีลักษณะเช่นนี้ เรียกได้ว่าเป็นเบี้ยแก้ที่หลวงพ่อซำสร้างขึ้นในยุคต้นๆ คือประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๕ เมื่อหลวงพ่อซำทำเบี้ยแก้ครบตามจำนวนวันแล้ว จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของการปลุกเสก โดยหลวงพ่อซำจะนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกเพื่อประจุพลังอาคมเข้าไปในเบี้ยแก้สำทับอีกชั้นหนึ่ง นั่งปรกนานตลอดวันภายในอุโบสถตั้งแต่หลังฉันเพลไปแล้วจนถึงเวลาทำวัตรเย็น คาถาที่หลวงพ่อซำใช้บริกรรมในการอุดชันโรง และปิดแผ่นฟอยล์นั้น หลวงพ่อซำใช้บทพระคาถามงคลนิมิต โดยบริกรรมคาถาว่า ‘อะวิชาปัจจะยะ ปิดจะยา ปัจจะยา อะวิชา ปิดจะยา ปัจจะยา ปิดจะยา อะวิชา ปัจจะยา อุอะมะตัง พุทธังอัดธะอุด’ หลวงพ่อซำ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีอายุยืนยาวรูปหนึ่ง มีอายุยืนยาวถึง ๙๔ ปี ๗๑ พรรษา โดยมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ มีเรื่องเล่าขานถึงปาฏิหาริย์แห่งวัตถุมงคลของหลวงพ่อซำอยู่หลายเรื่อง ดังเรื่องที่คุณลุงบุญส่ง รอดเสียงล้ำ หรือที่รู้จักกันในนาม ลุงส่งคานเรือ เล่าไว้ว่า “ลูกชายคุณลุงส่ง นายปราโมทย์ รอดเสียงล้ำ ชื่อเล่นว่าตั๋ง เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์แหกโค้งคว่ำได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่า แต่เข็มเย็บไม่เข้า ลำดับเหตุการณ์ในวันนั้น คือ ลูกชายซึ่งมีอาชีพรับจ้างถมดิน ได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์จากตลาดโรงช้าง อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อจะไปดูงานถมดินของลูกค้า ขณะขี่รถซึ่งถนนเป็นดินลูกรัง ปรากฏว่าบริเวณนั้นเป็นทางโค้งหักศอก เวลาประมาณบ่ายสี่โมง ด้วยความรีบเร่งจึงขับรถด้วยความเร็วสูง ทำให้รถเสียหลักเกิดอุบัติเหตุ รถพลิกคว่ำศีรษะฟาดกับพื้นถนนเนื่องจากไม่ได้สวมหมวก กันน็อก ผมขาดเป็นกระจุก แต่บริเวณศีรษะไม่เป็นอะไร ส่วนบริเวณหัวเข่าได้รับบาดเจ็บเป็นแผลยาวประมาณ ๓ นิ้ว มีผู้ประสบเหตุนำส่งสถานีอนามัยโรงช้างเพื่อทำการรักษา ขณะที่เจ้าหน้าที่อนามัยกำลังทำการเย็บแผลบริเวณหัวเข่าข้างขวา ปรากฏว่าได้เกิดเหตุการณ์อันน่าทึ่ง คือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเย็บแผลได้ เพราะเข็มแทงไม่เข้า เข็มหักถึง ๘ เล่ม คุณลุงคนหนึ่งซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นจึงสงสัยว่า พ่อหนุ่มคนนี้ต้องมีของดีอยู่ที่ตัว จึงเอ่ยปากถามว่า พ่อหนุ่มมีอะไรใช้ประจำติดตัว จึงได้ทราบว่ามีเหรียญหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ เหรียญรูปไข่พระพุทธเกศสั้น (เกศบัวตูม) เนื้ออัลปาก้า และเบี้ยแก้อาถรรพ์ คุณลุงผู้นั้นจึงแนะนำว่าให้อาราธนาและถอดออกจากคอ ปรากฏว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เมื่อเจ้าหน้าที่เย็บแผลได้อย่างง่ายดายเป็นจำนวนเข็มถึง ๘-๙ เข็ม” หรือดังเรื่องเล่าของคุณตาหวล ระรวยรื่น ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อซำ ว่า “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ตอนนั้นโจรขโมยชุมมาก ทางการจึงส่งกองปราบฝีมือเยี่ยมคือ ผู้กองยอดยิ่งพร้อมหน่วยกองปราบมาตั้งกองอำนวยการที่วัดนางในฯ ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ตอนนั้นเสือดำ เสือฝ้าย ออกอาละวาดหนักออกปล้นจี้ไม่เว้นแต่ละวัน ในวันเกิดเหตุหน่วยกองปราบได้ออกตรวจจับโจรผู้ร้ายมาถึงวัดตลาดใหม่ ต.ห้วยคันแหลม อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นช่วงตอนเย็นประมาณห้าโมงเศษ ปรากฏว่าพบกระยางฝูงใหญ่จับอยู่บนยอดต้นมะขามยักษ์คลุมกุฏิหลวงพ่ออยู่ จึงด้อมๆ มองๆ ทำท่าจะยิงนก พอดีหลวงพ่อเห็นเข้าจึงขอบิณฑบาต แต่เจ้าหน้าที่กองปราบไม่สนใจ จึงได้ยิงนกปรากฏว่ายิงไม่ออก แล้วพากันมากราบขอขมา (ขอโทษ) หลวงพ่อ และกราบขอวัตถุมงคลติดตัว หลวงพ่อท่านบอกว่าท่านไม่ได้ออกของ” คุณตาหวลยังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อซำไว้อีกเรื่องว่า “เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อซำ จึงมีความศรัทธาเลื่อมใส ท่านได้มอบหมายให้นายทหารคนสนิทมานิมนต์หลวงพ่อไปกรุงเทพฯ เพื่อถวายภัตตาหารเพลที่บ้านของท่าน สมัยก่อนการคมนาคมลำบากมากเพราะไม่มีถนน จึงต้องอาศัยไปทางเรือ วันนั้นหลวงพ่อเดินทางด้วยเรือสำปั้นพร้อมกับลูกศิษย์ แต่ด้วยขณะนั้นเป็นช่วงฤดูแล้งราวเดือนเมษายน น้ำจึงแห้งขอดคลอง จึงต้องใช้วิธีโยงเชือกกับหัวเรือทั้งสองข้างเพื่อจูงลากโยงเรือ หลวงพ่อได้เดินทางจากคลองวัดตลาดใหม่เพื่อจะออกไปสู่แม่น้ำน้อย ระยะทางประมาณ ๖ กม. เศษ ขณะที่เรืออยู่ระหว่างกลางทางบริเวณก่อนถึงวัดโพธิ์ปล้ำ หลวงพ่อได้แลไปเห็นคนกำลังจะยิงนกกระยาง ท่านนึกสงสารจึงอาราธนา ปรากฏว่าคนนั้นยิงนกไม่ออก” ปัจจุบันเบี้ยแก้สำนักวัดตลาดใหม่ ได้รับการสืบทอดต่อยังพระสมุห์ประเมษฐ ฐานิสฺสโร เจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่รูปปัจจุบัน ได้สร้างเบี้ยแก้ขึ้นมาตามตำรับหลวงพ่อซำ ซึ่งได้สร้างขึ้นมาครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ปรากฏว่าประชาชนได้พากันบูชาไปจนหมดสิ้น จึงได้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ |
|||||||||||||||
ราคา
|
โชว์พระ | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0893562879 โทรถามมีราคาพิเศษ | |||||||||||||||
ID LINE
|
manoonsak_yod1 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
20 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 004-1-884xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|