ร้าน ยอดวัดโพธิ์
www.yodwatpho.99wat.com
089-356-2879/099-624-7874
manoonsak_yod1

ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ รับเช่า-ให้เช่า-รับจัดหา

พระผงกระดูกผีวัดโพธิ์ และเหรียญพรายกระซิบวัดดอน

 
พระกลีบบัวกรุวัดลิงขบ


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
ยอดวัดโพธิ์
โดย
ยอด วัดโพธิ์
ประเภทพระเครื่อง
พระกรุ
ชื่อพระ
พระกลีบบัวกรุวัดลิงขบ
รายละเอียด
พระพิมพ์กลีบบัว กรุวัดลิงขบ(วัดบวรมงคล)

วัดบวรมงคล(วัดลิงขบ) เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
“ พระเครื่องยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ “
พระพิมพ์นี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "พระกรุวัดลิงขบ" มีรูปทรงสัณฐานเหมือนกับ กลีบบัว กว้าง ๑.๙ ซม. สูง ๒.๙ ซม. หนา ๐.๕ ซม.

สำหรับพระเครื่องของ วัดบวรมงคล หรือ พระพิมพ์กลีบบัว เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาที่บรรจุกรุไว้ในพระเจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่ พระสุเมธาจารย์(ศรี) มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส … “ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๐ “ … ภายหลังจากที่พระรามัญมุนี(ยิ้ม) มรณภาพ โดยได้สร้าง พระพิมพ์กลีบบัว บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่ พระสุเมธาจารย์(ศรี) ร่วมกับ จางวางโต และผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๐

กรุพระแตกที่วัดลิงขบ
เมื่อเดือนมีนาคม ปีพ.ศ.๒๕๐๙ มีผู้ลักลอบขุดกรุพระที่องค์พระเจดีย์ของ วัดลิงขบ ได้นำพระบูชา พระเครื่องออกไปเป็นจำนวนมาก ทางวัดทราบข่าวจึงได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็ยังมีผู้แอบมาลักลอบขุดกรุพระอีกเสมอๆ ทางวัดจึงได้แจ้งต่อกรมการศาสนา และ ขออนุญาตเปิดกรุพระ นี้ขึ้นอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๙

กรุพระที่ขุดนี้มี ๒ จุด คือ กรุที่ฐานเจดีย์และที่คอระฆังเจดีย์ ปรากฏว่าได้พระบูชา และพระเครื่องชนิดต่างๆ มากมาย และมีพระบรมสารีริกธาตุ แหวนทองคำ ตะกรุดทองคำ ปะปนอยู่ด้วย ที่มีมากเป็นพิเศษคือ พระพิมพ์กลีบบัวเนื้อดินเผา ซึ่งมีจำนวนถึง ๗๕,๐๐๐ องค์ เข้าใจว่า ในตอนสร้างคงจะมีจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ แต่ได้ถูกคนร้ายลักลอบขโมยขุดออกไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวนหนึ่ง

กล่าวกันว่า พระพิมพ์กลีบบัวนำแบบมาจาก “พระพุทธนิรันตราย” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พระพิมพ์กลีบบัว เป็นพระเครื่องแบบพิมพ์ด้านเดียว องค์พระปฏิมากรประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแบบลอยองค์ ริมขอบรอบองค์เป็นเส้นรัศมี พระเมาลีรัศมีเปลว มีขอบพระพักตร์หรือเส้นไรพระศกปรากฏชัดเกือบทุกองค์ ลักษณะเค้าพระพักตร์แบบหน้านาง หรือที่เรียกกันว่า แบบวงพระพักตร์รัตนโกสินทร์ รายละเอียดของพระขนง พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ ปรากฏชัดเจนมากในบางองค์ พระกรรณทั้งสองข้างแนบชิดพระปราง(แก้ม) ห้อยลงมาจดพระอังสา(บ่า) การห่มจีวรแบบลดไหล่ พระอังสาขวาเป็นจีวรริ้ว ที่พระกรซ้ายช่วงบนจะเห็นริ้วของจีวรเส้นเล็กๆ สองเส้นพาดลงไปที่พระกัจฉะ พระพาหาทั้งสองข้างกางออกแล้วหักพระกัปประ(ศอก) พระกรทั้งสองทอดเฉียงลงที่พระเพลาแล้วซ้อนทับ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองหงายเป็นแนววางทับอยู่บนพระเพลากับพระชงฆ์ ใต้องค์พระมีรอยเสียบเส้นตอก หรือรอยเสียบไม้ตอนถอนพระออกจากแม่พิมพ์

ด้านหลังขององค์พระจะปรากฏเป็นรอยแอ่งเว้าลงไปเล็กน้อย และมีลายมือของผู้กดพิมพ์ด้วย บางองค์หลังเรียบก็มี ด้านล่างองค์พระจะมีรู ซึ่งเกิดมาจากการใช้ไม้แหลมเสียบเข้าเนื้อพระเพื่อแกะเอาองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์

เนื้อหามวลสาร ละเอียดพอสมควร ไม่มีก้อนแร่หรือวัสดุอื่นใดปะปน แต่อาจจะมีบางองค์ที่มีทรายเงินทรายทองเล็กๆ ปะปนอยู่บ้าง พระส่วนใหญ่จะมีราดำจับอยู่บนผิว บางองค์มีมาก บางองค์มีน้อย ทำให้ง่ายต่อการพิจารณา

สีขององค์พระ มีหลายสี เช่น เหลืองนวล สีแดงอิฐ สีส้มอ่อนๆ บางองค์จะมีสีเทาดำปะปนบ้าง ทั้งนี้เป็นเพราะตอนเผาความร้อนถูกองค์พระไม่เท่ากัน แบบเดียวกับพระกรุเมืองลำพูน เมืองกำแพงเพชร หรือเมืองสุพรรณบุรี ในตอนที่เปิดกรุพระออกมานั้น ทางวัดให้บูชาองค์ละไม่กี่สิบบาทปรากฏว่า ได้เงินจำนวน ๓ แสนบาท ทางวัดได้นำไปสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ ๑ หลัง ดังปรากฏเป็นถาวรวัตถุมาจนถึงทุกวันนี้

พระพุทธคุณ ดีเด่นทางเมตตามหานิยม ป้องกันคุณไสย และคมเขี้ยวสัตว์ร้ายได้ดี

วัดบวรมงคล หรือที่หลายๆคนคุ้นชื่อในนาม “วัดลิงขบ” เป็นวัดที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นวัดมอญหรือรามัญ ก่อนเปลี่ยนมาเป็นวัดธรรมยุต เดิม วัดบวรมงคล เป็นวัดเก่าแก่สร้างมานาน แต่ไม่อาจสืบค้นหาหลักฐานแน่ชัดได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง แต่ปูมหลังของวัดแห่งนี้จากหนังสือ “เรื่องของวัดบวรมงคล” ได้บันทึกไว้ว่า
เดิมเรียกกันว่า “วัดลุงขบ” อันเนื่องมาจากลุงขบ คนใกล้วัดเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ แต่กาลต่อมาภาษาเพี้ยนไปเป็น “วัดลิงขบ” ได้เช่นใดไม่ทราบได้ อีกทั้งชาวบ้านในละแวกนั้นกล่าวว่า ไม่มีลิงในบริเวณนี้แต่อย่างใด ปัจจุบัน วัดบวรมงคล เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลางระหว่าง โรงงานสุราบางยี่ขัน กับ สะพานกรุงธน ใกล้วัดคฤหบดี ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
จากหนังสือ “ประวัติวัดสำคัญทางพระพุทธศาสนา” ตอนที่ ๕ กรมการศาสนา จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๘ ได้กล่าวถึง วัดบวรมงคล ตอนหนึ่งว่า
“ครั้นระหว่างปีพ.ศ.๒๓๕๒ - ๒๓๖๐ สมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยนี้มีชาวรามัญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารจำนวนมาก และยังมีพระภิกษุรามัญนิกาย ได้ติดตามญาติโยมเข้ามาด้วย ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกำหนดสถานที่ให้อยู่เป็นแห่งๆไป
ในเขตตำบลวัดหัวลิงขบนี้ คงมีมาอยู่มากพอสมควร เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ชาวรามัญกลุ่มนี้ให้มีโอกาสประกอบกุศลกิจตามประเพณีนิยมในวัดของตนตามลำพัง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิสหล้านภาลัย และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาเสนานุรักษ์ ทรงพระราชดำริเห็นพ้องต้องกันว่า ควรสถาปนาวัดขึ้นสำหรับชาวรามัญกลุ่มนี้ และโดยทรงเห็นว่า “วัดลิงขบ” เป็นวัดซึ่งมีที่ตั้งเหมาะสมที่ดินวัดก็กว้างขวาง อยู่ติดกับฝั่งแม่น้ำไปมาสะดวกเหมาะที่จะเป็นวัดของพระเถระผู้ใหญ่ ดังนั้น กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาเสนานุรักษ์ จึงทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้น...เมื่อทรงสถาปนาเสร็จแล้วประทานนามใหม่ให้ว่า “วัดบวรมงคล” อย่างไรก็ตาม มีบางท่านกล่าวแย้งว่า วัดลิงขบ เปลี่ยนชื่อเป็นวัดบวรมงคล เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงปฏิสังขรณ์เมื่อครั้งสมัย พระรามัญมุนี(ยิ้ม) เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดก่อสร้างหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถ วิหารคด หอระฆัง ศาลาการเปรียญ เป็นต้น วัดบวรมงคล ได้ดำรงสถานะเป็น วัดรามัญนิกาย มาจนถึงปีพ.ศ.๒๔๖๒ เมื่อสภาพการณ์ของวัดร่วงโรยไปมาก อีกทั้งยังหาพระรามัญมาอยู่ด้วยลำบาก และบรรดาอุบาสกอุบาสิกาซึ่งอยู่ใกล้วัดไม่ใช่ชาวรามัญ ไม่คุ้นเคยต่อธรรมเนียมของพระรามัญ ทางคณะกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตได้ประชุมตกลงกันเมื่อปีพ.ศ.๒๔๖๒ ให้เปลี่ยน วัดบวรมงคล เป็นวัดธรรมยุต
ในการเปลี่ยนครั้งนั้น มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์ที่ ‘พระธรรมธีรราชมหามุนี’ เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด

การสร้าง "พระพิมพ์กลีบบัว" นี้ พระสุเมธาจารย์(ศรี) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ โดยมี พระเถราจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคมจำนวนมากในสมัยนั้น มาร่วมพิธีปลุกเสก ซึ่งมีอยู่มากมายหลายท่านด้วยกัน มีบางท่านกล่าวว่า พระพิมพ์กลีบบัว นี้สร้างในช่วงที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ยังมีชีวิตอยู่ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จโตฯ จะได้รับนิมนต์มาร่วมปลุกเสกด้วยก็เป็นได้ เมื่อเทียบปีพ.ศ.๒๔๑๐ ดูแล้ว เห็นว่าตรงในสมัยของ เจ้าประคุณสมเด็จโต(ท่านมรณภาพปีพ.ศ.๒๔๑๕) ก็อาจจะเป็นไปได้ อันนี้ถือเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน มิใช่ข้อยืนยันว่าเป็นจริง

ดังนั้น ถ้าเป็นพระเครื่องที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี)” แห่ง วัดระฆังโฆสิตาราม ร่วมปลุกเสกด้วย เช่นนั้นพุทธคุณคงไม่ต้องเอ่ยถึง ว่าจะเยี่ยมยอดขนาดไหนครับ

ราคา
3500
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
0893562879 โทรถามมีราคาพิเศษ
ID LINE
manoonsak_yod1
จำนวนการเข้าชม
35 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารกสิกรไทย / 004-1-884xx-x

แสดงความคิดเห็น